....ยินดีต้อนรับสู่ เว็บไซต์ของชมรมบ้านพักทุ่งดอกกระเจียว....
 

 

๑๒ เดือน...๗ ดาว...๙ ตะวัน...

เที่ยวตลอดทั้งปี กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ.จังหวัดชัยภูมิ

๑๒ เดือน....หนึ่งในสิบสองเดือนของที่นี่ ที่น่าดูที่สุด น่าเที่ยวที่สุด (เดือน กค.ทุ่งดอกกระเจียว ณ.อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม)

๗ ดาว...หนึ่งในเจ็ด ของค่ำคืนดูดาวที่สวยที่สุด 7 แห่ง (ดูดาวที่มอหินขาว)

สัมผัสบรรยากาศของน้ำตกสวย อุดมด้วยป่าไม้ธรรมชาติศึกษา ละลานตาดอกกระเจียวบานสะพรั่ง

งามล้ำค่าภูมิปัญญางานผ้าไหม หลอมรวมใจด้วยศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยวได้ทุกฤดูที่นี่ เมืองผู้กล้า พญาแล

ชัยภูมิ ภูมิใจ เที่ยวได้ทุกฤดู...

ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
เขื่อนลำปะทาว อ.แก้งคร้อ

ทุ่งดอกกระเจียว อ.เทพสถิต

มิย. กค. สค.

งานฤดูหนาวอช.ป่าหินงาม

Countdown ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ พย.ธค.มก.กพ.

น้ำตกตาดโตน อ.เมือง

มอหินขาว

มอหินขาว อช.ภูแลนคา

น้ำตกตาดโตน

เสมาหินทรายกุดโง้ง อ.เมือง

มอหินขาว ,น้ำตกตาดโตน

อ่างเก็บน้ำโนนเขวา และ

ภูคิ้ง อ.เกษตรสมบูรณ์

อช.ไทรทอง ผาหำหด อ.หนองบัวระเหว

เขื่อนจุฬาภรณ์ อ.คอนสาร

พระธาติหนองสามหมื่น อ.ภูเขียว
น้ำผุดทัพลาว อ.คอนสาร
หมู่บ้านผ้าไหม อ.บ้านเขว้า

 

ประวัติเมืองชัยภูมิ....ที่น่าสนใจ และศึกษา

ากหลักฐานที่ยังเหลืออยู่คือ ปรางค์ศิลาหลายแห่ง เช่น ปรางค์กู่ พระธาตุหนองสามหมื่น พระธาตุกุดจอก เป็นต้น ทำให้เราทราบว่าเมืองชัยภูมิมีประวัติการจัดตั้งชุมชนมาแต่ครั้งสมัยทวารวดี.....

มัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า เป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และได้ถูกปล่อยไว้เป็นเมืองร้าง เมืองชัยภูมิปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวคือเมื่อ พศ 2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ได้อพยพครอบครัว และบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบัน ปีพศ.2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแล ก็ไดย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ ที่โนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กม. นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาว ส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ จนได้รับบำเหน็จความชอบ แต่ตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปีพศ. 2365 นายแล ได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่า กับหนองหลอด เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ ในปัจจุบัน และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์อีกต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯยกบ้านหลวง เป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก.....

ต่อมาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพฯ โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพผ่านมาว่า จะมาช่วย กรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั่ง เจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้ เมื่อปีพศ. 2369 ซึ่งตรงกับ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นต่อมาเมื่อความแตกเจ้าอนุวงศ์ ก็ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมา เพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทน์ เมือ่ไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นมาต่อสู้ และพระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียง ได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์ จนแตกพ่ายไป

ฝ่ายกองทัพลาว ส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมา เข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้ และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล) เข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เกิดความแค้น จึงจับตัวพระยาภักดีชุมพล มาประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหน่องปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดี ที่ท่านมีความซื่อสัตย์ และสียสละต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ. บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่ เป็นศาลาทรงไทย ชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไหว้ และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 3 กม.ด้วยความดีที่ขุนภักดีชุมพลมีความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาภักดีชุมพล(แล)" ชาวชัยภูมิจึงได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ที่งามสง่า ประดิษฐานอยู่กลางใจเมือง เพื่อรำลึกถึงความดีความเสียสละแก่ประเทศชาติ ของขุนภักดีชุมพล สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระยาภ้กดีชุมพล ผู้ก่อตั้งเมืองชัยภูมิ ชาวชัยภูมิทั้งหลายเรียกท่านว่า "เจ้าพ่อพญาแล"

งานถวายช้างเจ้าพ่อพญาแล

ในเวลาประมาณ 04.00 น. ทุกวันที่ 12 มกราคม ของทุกปี จะทำพิธีถวายช้างบริเวณอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล มีขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล โดยมีขบวนช้างเป็นขบวนแรก หลังจากนั้นก็เป็นขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ โรงเรียน และประชาชน ในระหว่างการจัดงานจะมีการออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทห้างร้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแลจะมีไปจนถึงวันที่ 20 ของเดือนมกราคมของทุกปี

งานประเพณีบุญเดือนหก (งานบวงสรวงเจ้าพ่อพญาแล)

อยู่เขตเมืองห่างกันประมาณ 2.5 กม. ตามเส้นทางสายชัยภูมิ-บ้านเขว้า (ทางหลวงที่ 225) แยกขวามือเข้าสู่หนองปลาเฒ่า เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของพระยาภักดีชุมพบ(แล) ซึ่งถูกทหารลาวจับมาประหารชีวิต ณ.สถานที่ริมบึงหนองปลาเฒ่าแห่งนี้ สาเหตุเพราะเอาใจออกห่างพระเจ้าแผ่นดินลาว และยังเป็นศูนย์กลางที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวเมืองชัยภูมิ ทุกปีจะมีงานสักการะศาลเจ้าพ่อในวันพุธแรกของเดือน 6 ของทุกปี เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน และมีพิธีเช่นไหว้รำผีฟ้าถวายเจ้าพ่อเป็นประจำทุกปี

ข้อมูลจากสำนักงานจังหวัดชัยภูมิ

 

สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง

เขตอำเภอเมือง

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล

ประดิษฐานอยู่ที่วงเวียนศูนย์ราชการ ทางเข้าตัวเมืองชัยภูมิ ชาวเมืองชัยภูมิได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อนเป็นอนุสรณ์ แด่พระยาภักดีชุมพล (แล) ผู้ก่อนตั้งเมือง ซึ่งชาวชัยภูมิทั้งหลายเรียกท่านว่า "เจ้าพ่อพญาแล"

ศาลเจ้าพ่อพญาแล

อยู่ริมหนองปลาเฒ่า ห่างจากตัวเมือง 3 กม. ตามเส้นทางชัยภูมิ-บ้านเขว้า ทางหลวงหมายเลข 225 ที่ริมน้ำมีต้นมะขามใหญ่ซึ่งกล่าวขานกันว่าเป็นสถานที่เจ้าพ่อพญาแล เสียชีวิต ในการสู้รบกับทหารเวียงจันทน์ เมื่อปีพศ. 2369 เดิมมีเพียงศาลไม้ตั้งอยู่ แต่ต่อมาปี พศ. 2511 ชาวชัยภูมิ ได้ร่วมใจกันสร้างศาลพระยาภักดีชุมพลขึ้นมาใหม่ มงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธแรกของเดือน 6 เป็นเวลา 7 วัน ในงานจะมีมหรสพต่าง ๆ งานออกร้านอาหาร และ OTOP พร้อมการประกวดหลานสาวปู่แล (ดูประมวลภาพการประกวดได้จากเวปฯ นี้)

ตำหนักเขียว

ตำหนักเขียวสร้างขึ้นเมื่อปี พศ. 2493 เดิมเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ต่อมาใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อคราวเสร็จฯ เยี่ยมราษฏร จังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2498 ปัจจุบัน ตำหนักเขียวมีการจัดแสดงเป็น 2 ส่วน ชั้นล่าง จัดแสดงผ้ามัดหมี่ มีการรวบรวมข้อมูลผ้ามัดหมี่ของจังหวัดชัยภูมิ้น 539 ลาย โดยผ้าบางชิ้นมีอายุมากกว่า 100 ปี ส่วนที่สองคือชั้นบน จัดแสดงห้างต่าง ๆ อาทิ ห้องพระสุธารส ห้องเสด็จประพาส ห้องเจ้าเมือง ห้องเครื่อง เป็นต้น เปิดให้เข้าเยี่ยมชมเวลา 10.00 - 12.00 น. และ 14.00 - 16.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดราชการ ในกรณีเป็นหมู่คณะติดต่อที่ 0-4481-1574

ปรางค์กู่

ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ต.ในเมือง ห่างจากตัวเมือง 3 กม. จากจ.ชัยภูมิ มาตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 1 กม.จะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่ระยะทาง 2 กม.

 

 

ขออภัยรอปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

กลับหน้าแรกชมรมที่พักทุ่งดอกกระเจียว

 

copyright@2007 -2010 baankrajeaw.com all right reserved.